การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานของ กนอ.

 

แนวทางการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

กนอ. ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานของนิคมอุตสาหกรรม เป็นอย่างยิ่งโดยได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ในนิคมอุตสาหกรรม และท่าเรืออุตสาหกรรมเพื่อกำกับและควบคุมการพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและมีความปลอดภัยสูงสุด โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังต่อไปนี้

  1. ระยะพัฒนาโครงการ

ในการพัฒนาโครงการเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม กนอ. ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานด้วยความตระหนักในเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการยอมรับจากชุมชน โดยมีการเตรียมการเพื่อป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีมาตรการเพื่อแก้ไขและติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ สรุปได้ดังนี้

1.1 การเลือกพื้นที่ (Site Selection) โดยมีการสำรวจและพิจารณาความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อม เบื้องต้นดังนี้

  • สภาพภูมิประเทศทั่วไป
  • แหล่งรองรับน้ำทิ้ง/แหล่งน้ำใช้
  • คุณภาพอากาศและระดับเสียง
  • ชุมชนบริเวณใกล้เคียงโครงการ

1.2 การจัดทำแนวคิดการออกแบบเบื้องต้น (Conceptual Design) โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

  • โรงงานที่มีน้ำเสียประเภทเดียวกันอยู่บริเวณเดียวกัน
  • โรงงานที่ไม่มีมลภาวะตั้งอยู่บริเวณรอบนอกนิคมอุตสาหกรรมหรือติดกับชุมชน
  • กำหนดที่ตั้งโรงงานที่มีผลกระทบด้านกลิ่น/อากาศโดยคำนึงเรื่องทิศทางลม
  • จัดให้มีระบบกำจัดของเสียอยู่ส่วนในของพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
  • นำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์มากที่สุด
  • กำหนดพื้นที่สีเขียวอย่างน้อยร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด
  • กำหนดให้มีพื้นที่แนวกันชนรอบนิคมอุตสาหกรรม คำนึงถึงด้านภูมิสถาปัตย์/ความเป็นเอกลักษณ์กลมกลืนกับท้องถิ่น (Unique)

1.3 การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment; EIA) ทำการศึกษาและประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการเพื่อกำหนด มาตรการป้องกันและลดผลกระทบรวมถึงมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโครงการ ทั้งในระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการ

1.4 การออกแบบรายละเอียดโครงการ (Detail Design) ในการออกแบบรายละเอียดโครงการ กนอ. ได้กำหนดให้ โครงการนำข้อมูลจากการออกแบบเบื้องต้น (Conceptual Design) และรายงาน EIA มาใช้ประกอบในการออกแบบ และก่อสร้างระบบป้องกันมลพิษที่ได้มาตรฐาน ประกอบด้วย

  • ระบบท่อรวมน้ำเสีย
  • ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง
  • ระบบบริหารจัดการมูลฝอยและกากอุตสาหกรรม
  1. ระยะก่อสร้างโครงการ

กนอ.กำกับและควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานการออกแบบที่เสนอไว้ รวมทั้งดำเนินการตามมาตรการลดผลกระทบและติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมระหว่างการก่อสร้างตามรายงาน EIA    

  1. ระยะดำเนินการ
  • กำกับและควบคุมนิคมอุตสาหกรรมและโรงงาน ให้ดำเนินการตามกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ทั้งในสภาวะปกติและในสภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งในกรณีที่มีการร้องเรียน
  • ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมนิคมอุตสาหกรรม /ท่าเรืออุตสาหกรรม อย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ คุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ ระดับเสียง และกากอุตสาหกรรม ตามที่ได้เสนอในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกรณีภาวะฉุกเฉินและมีการร้องเรียน
  • ฟื้นฟู/แก้ไข และยกระดับมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมของนิคมอุตสาหกรรม
  • ส่งเสริมและยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ให้ได้มาตรฐานสากล โดยการนำระบบ ISO 14001 และแนวคิดด้านเทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) มาประยุกต์ใช้กับนิคมอุตสาหกรรมและโรงงาน
  • ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานควบคุมดูแลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและไฟฟ้าอย่างประหยัดเท่าที่จำเป็น พร้อมทั้งรณรงค์การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้เป็นประโยชน์ นอกจากแนวทางการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานดังกล่าว กนอ. ได้เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโดยนำแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ของภาคเอกชนมาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้ กนอ. ได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อบรรลุเป้าหมายโดยเน้นบทบาท กนอ. ในฐานะผู้กำกับดูแล (Regulator) และเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในฐานะผู้ให้บริการ (Service Provider) ซึ่งดำเนินการจนถึงปัจจุบัน สรุปได้ดังนี้่    

การร่วมดเนินงานกับภาคเอกชนในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ให้เอกชนลงทุนพัฒนาในที่ดินของตนเอง และ กนอ. เป็นผู้กำกับดูแลการก่อสร้าง และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตลอดจนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ในนิคมอุตสาหกรรมให้เป็น ไปตามมาตรฐานข้อบังคับและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

สัญญาให้เอกชนเช่าดเนินการ กนอ. ทำสัญญาให้เอกชนเช่าดำเนินการ โดยเอกชนลงทุนจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ นอกเหนือจากเครื่องมือและอุปกรณ์ ที่ กนอ. มีอยู่

การให้สิทธิการดเนินงานแก่ภาคเอกชน กนอ. ทำสัญญาให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พัฒนาก่อสร้าง ปรับปรุง ระบบสาธารณูปโภคโดยให้เอกชนได้รับผลประโยชน์ตอบแทน เป็นส่วนแบ่งจากรายได้ค่าบริการภายใต้การกำกับดูแลของ กนอ.

การร่วมลงทุนกับภาคเอกชน กนอ. ร่วมลงทุนกับภาคเอกชนในการพัฒนาและบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เพื่อให้บริการแก่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ

นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

กนอ. มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ให้เป็นไปตามกฎหมาย และมีมาตรฐานเทียบเท่าสากล ตลอดจนยกระดับการดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเจตจำนง ดังกล่าว กนอ.จะดำเนินการดังต่อไปนี้   

  • พัฒนานิคมอุตสาหกรรม ท่าเรืออุตสาหกรรม และการกำกับดูแลโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรม ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ข้อกำหนดและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานอย่างเคร่งครัด
  • พัฒนานิคมอุตสาหกรรม และท่าเรืออุตสาหกรรม โดยมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและชุมชนในระดับที่ยอมรับได้
  • เน้นการป้องกัน รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ติดตามตรวจสอบและปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่มีประสิทธิภาพภายใต้แนวทาง Clean & Green อย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม
  • มุ่งเสริมสร้างบุคลากรของ กนอ. ให้มีความรู้และสรรค์สร้างในคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรืออุตสาหกรรม ชุมชน และองค์กรต่างๆ เพื่อการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การป้องกันและการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์การใช้พลังงาน

 

 

 

Banner Border